วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

วิธีเพิ่มเสน่ห์ ด้วยมารยาทไทย

วิธีเพิ่มเสน่ห์ ด้วยมารยาทไทย

“ไปลา-มาไหว้” มารยาทไทยที่เป็นวัฒนธรรมการทักทาย เวลาพบปะกันหรือลาจากกัน “การไหว้” เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากการกล่าวคำว่า “สวัสดี” แล้วยังแสดงออกถึงความหมาย “การขอบคุณ” และ “การขอโทษ” การ ไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิตรไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ซึ่งนับวันจะค่อย ๆ เลือนลางออกไปจากสังคมไทย ด้วยเยาวชนไทยส่วนใหญ่ รับเอาวัฒนธรรมต่างชาติมายึดถือปฏิบัติ เช่น การทักทายกันด้วยการจับมือ ด้วยการผงกหัวหรือพยักหน้าต้อนรับกัน โดยปกติความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นวัฒนธรรมไทยที่แสดงความเคารพด้วยการไหว้ผู้อาวุโส หรือการรับไหว้ผู้อาวุโสน้อย ปัจจุบันกลายเป็นวัฒนธรรมที่เกิดเฉพาะกลุ่ม แทนที่จะเป็นวัฒนธรรมในสังคมของคนทุกชนชั้น



ด้วย สาเหตุที่เยาวชนไทย มองข้ามวัฒนธรรมไทยที่ดีงามถูกต้อง มารยาทในสังคมไทยจึงผิดเพี้ยนไป สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัดการเผยแพร่ความรู้เรื่องมารยาทไทยอย่างต่อเนื่อง และได้หยิบยกมารยาทในการพบปะสมาคม ในสังคมที่สำคัญมีดังนี้


1. การรู้จักวางตน ต้อง เป็นคนมีความอดทน มีความสงบเสงี่ยม ไม่แสดงกิริยาก้าวร้าว อวดรู้ อวดฉลาด อวดมั่งมี และไม่ควรตีตัวเสมอผู้ใหญ่ แม้ว่าจะสนิทสนมหรือคุ้นเคยกันสักปานใดก็ตาม


2. การรู้จักประมาณตน มี ธรรมของคนดี 7 ได้แก่ รู้จัก เหตุผล ตน ประมาณ กาล ชุมชน และบุคคล โดยไม่ทำตัวเองให้เด่น เรียกร้องให้คนอื่นสนใจ หรือสร้างจุดสนใจในตัวเรามากเกินไป ตัวอย่าง คำเตือนของหลวงวิจิตรวาทการที่กล่าวไว้ว่า “จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครเขาอยากเห็นเราเด่นเกิน”


3. การรู้จักการพูดจา ต้อง ไม่ทักทายปราศรัยกับคนด้วยคำพูด ที่จะทำให้คนเขาเกิดความอับอายในสังคม และไม่คุยเสียงดัง หรือยักคิ้วหลิ่วตาทำท่าทางประกอบจนทำให้เสียบุคลิกภาพได้


4. การรู้จักควบคุมอารมณ์ คือ รู้จักข่มจิตของตน ไม่ใช่อารมณ์รุนแรง เพื่อไม่ให้ล่วงสิ่งที่ไม่ควรล่วง ได้แก่ การข่มราคะ โทสะ โมหะ ไม่ให้กำเริบเป็นคุณลักษณะที่สำคัญ อย่างหนึ่ง คือ รู้จักข่มอารมณ์ต่าง ๆ ไม่ทำลายข้าวของ ไม่พูด และแสดงกิริยาประชดประชัน หรือส่อเสียด

5. การสำรวมกิริยาเมื่อเดินผ่านผู้ใหญ่
ขณะ ที่เดินผ่านผู้ใหญ่ให้ก้มตัวพองาม หรือหากผู้ใหญ่กำลังเดินไม่ควรวิ่งตัดหน้า ควรหยุดให้ผู้ใหญ่เดินไปก่อน หรือไม่ควรเดินผ่านกลางขณะที่ผู้ใหญ่กำลังพูดกัน


6. การรู้จักควบคุมอิริยาบถ ถือเป็นคุณสมบัติที่ดี เช่น เมื่อเราได้ยินเสียงเพลงก็ไม่ควรเขย่าตัว กระดิกเท้า หรือเคาะจังหวะโดยไม่เลือกสถานที่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ ถือว่าเป็นอาการของคนที่ไม่ควบคุมอิริยาบถ และไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ


7. ความมีน้ำใจไมตรีอันดีต่อกัน การ อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขด้วยความรักและเข้าใจกัน ควรมีความเอื้ออาทร มีน้ำใจไมตรีต่อกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีความเห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ทุกข์สุขของผู้เกี่ยวข้อง มุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ที่สำคัญคือมีน้ำใจในการช่วยเหลือ หรือช่วยทำประโยชน์ให้แก่สังคม


8. การช่วยเหลือผู้อื่น เป็นคุณธรรมชั้นสูงของการอยู่ร่วมกันในสังคม ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์มีอุดมการณ์สำคัญคือ “การช่วยเหลือผู้อื่น” พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นปัจฉิมโอวาท ความว่า “จงยังประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่นด้วยความไม่ประมาทเถิด” การ ยังประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็คือ การช่วยเหลือผู้อื่น หรือการปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เพื่อประโยชน์ส่วนรวม สังคมจะมีสันติสุข คือ มีความสงบสุข ถ้าบุคคลในสังคมรู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม




ลักษณะการแสดงความเคารพด้วยการไหว้ ที่เป็นมารยาทในสังคมที่ควรปฏิบัติกัน คือ


- การประนมมือ (อัญชลี) เป็น การแสดงความเคารพ โดยการประนมมือให้นิ้วมือทั้งสองข้างชิดกัน ฝ่ามือทั้งสองประกบเสมอกันแนบหว่างอก ปลายนิ้วเฉียงขึ้นพอประมาณ แขนแนบตัวไม่กางศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือนี้ ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา ขณะสนทนากับพระสงฆ์ รับพรจากผู้ใหญ่ แสดงความเคารพผู้เสมอกัน และรับความเคารพจากผู้อ่อนอาวุโสกว่า เป็นต้น


- การไหว้ (วันทนา) เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือ แล้วยกมือทั้งสองขึ้นจรดใบหน้าให้เห็นว่า เป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง การไหว้แบบไทย แบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามระดับของบุคคล


- ระดับที่ 1 การไหว้พระ ได้แก่ การไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมทั้งปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือแล้วยกขึ้น พร้อมกับค้อมศีรษะลง ให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว ปลายนิ้วแนบส่วนบนของหน้าผาก


- ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ โดยประนมมือ แล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลง ให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วแนบระหว่างคิ้ว


- ระดับที่ 3 การไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป ที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโสสูงกว่าเล็กน้อย โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนิ้วแนบปลายจมูก
อนึ่ง สำหรับ หญิงการไหว้ทั้ง 3 ระดับ อาจจะถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัดไปข้างหลังครึ่งก้าว แล้วย่อเข่าลงพอสมควรพร้อมกับยกมือขึ้นไหว้ก็ได้


โดย ปกติวัฒนธรรมการไหว้เป็นวิถีชีวิต ที่ถูกปลูกฝังให้รู้จักกาลเทศะ รู้จักการเคารพผู้อาวุโส กตัญญูรู้บุญคุณ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การมีมารยาทในสังคมดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะในเรื่องการเคารพผู้อาวุโส ต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตน การแสดงความเคารพในโอกาสต่าง ๆ การรู้จักจัดลำดับการวางตนที่ถูกต้อง ตามประเพณีที่วางเอาไว้ ทำให้เกิดความสงบสุขในสังคม เพราะการปฏิบัติขัดกับประเพณีที่วางไว้ จะทำให้เกิดความขัดแย้ง ขัดเคืองความรู้สึกซึ่งกันและกัน การมีกฎเกณฑ์มารยาทในสังคม เป็นบรรทัดฐานให้บุคคลดำเนินชีวิตได้อย่างสันติสุข




*** เอกสารอ้างอิง หนังสือคู่มือวัฒนธรรมวิถีชีวิตไทย โดยอาจารย์กนก จันทร์ขจร


ขอขอบคุณข้อมูลข่าว : กฤษณา พันธุ์มวานิช กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ,สนุก.คอม
ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ www.urrac.com/rangsit
6. การแสดงความเคารพโดยทั่วไป

6.1 การแสดงความเคารพศพ จะต้องกราบพระพุทธ รูปเสียก่อนแล้วจึงไปทำความเคารพศพ ส่วน การจุดธูปหน้าศพนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของลูก หลานหรือศิษยานุศิษย์ หรือผู้เคารพนับถือ ที่ประสงค์จะบูชา
การเคารพศพพระ ถ้า เจ้าภาพจัดให้มีการจุดธูปให้จุด 3 ดอก ชายกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หญิงหมอบกราบแบบเบญจางค ประดิษฐ์ 3 ครั้ง
การเคารพศพคฤหัสถ์ ให้ทำ ความเคารพเช่นเดียวกับตอนที่ผู้ตายยังมี ชีวิตอยู่ ถ้าเป็นศพของผู้ที่มีอาวุโสมาก กราบ 1 ครั้ง แต่ถ้าเป็นศพของผู้ที่มี อาวุโสใกล้เคียงกันกับผู้ที่ไปทำความเคารพ ให้ไหว้ในระดับที่ 3 (ไหว้บุคคลทั่ว ไป) ส่วนการเคารพศพเด็กนั้นเพียงยืนสงบ หรือนั่งสำรวมครู่หนึ่ง
ในกรณีที่ศพได้ รับพระราชทานเกียรติยศ ผู้เป็นประธานจุดธูป เทียนที่หน้าพระพุทธรูปและที่หน้าตู้พระ ธรรม แล้วไปจุดเครื่องทองน้อยที่หน้าศพเพื่อ แสดงว่าผู้วายชนม์บูชาพระธรรม แล้วจึงเคารพ ศพ
ส่วนผู้ไปในงาน กราบพระพุทธรูป ที่โต๊ะหมู่บูชาแล้วจึงเคารพศพด้วยการกราบ หรือคำนับ
6.2 การเคารพอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญ อนุสาวรีย์ บุคคลสำคัญอาจเป็นรูปปั้น ภาพถ่าย ภาพวาด หรือ สัญลักษณ์อื่นก็ได้ ให้แสดงความเคารพด้วยการคำนับ หรือกราบ หรือไหว้แล้วแต่กรณี
ในโอกาสพิเศษ หรือเป็นพิธีการ เช่น เมื่อครบรอบวันเกิด หรือ วันสำคัญที่เกี่ยวข้องอันเป็นพิธีการให้ใช้ พุ่มดอกไม้ ถ้าครบรอบวันตายหรือแสดงความระลึก ถึงอันเป็นพิธีการให้วางพวงมาลา
ใน โอกาสอื่นๆ ที่ไม่เป็นพิธีการอาจแสดงความเคารพ โดยใช้หรือไม่ใช้เครื่องสักการะก็ได้
6.3 การแสดงความเคารพของผู้เป็นประธาน ที่ บูชา เมื่อประธานในพิธีลุกจากที่นั่งเพื่อไป บูชาพระรัตนตรัย ผู้ร่วมพิธียืนขึ้น และเมื่อประธาน เริ่มจุดธูปเทียน ผู้ร่วมพิธีประนมมือเสมออก เมื่อประธานกราบผู้ร่วมพิธียกมือที่ประนมขึ้น ให้นิ้วชี้จรดหน้าผาก พร้อมทั้งก้มศีรษะเล็ก น้อย หากที่บูชามีธงชาติและพระบรมฉายา ลักษณ์ด้วย เมื่อประธานบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว ให้ยืน ขึ้นถอยหลัง 1 ก้าว ยืนตรง ค้อมศีรษะคารวะครั้ง เดียว ซึ่งถือว่าได้เคารพต่อธงชาติและพระ บรมฉายา-ลักษณ์ไปพร้อมกันแล้ว ให้ประธานปฏิบัติ เช่นเดียวกันนี้ทั้งชายและหญิงทั้งที่อยู่ ในและนอกเครื่องแบบ
เมื่อจบพิธีแล้วประธาน ควรกราบพระพุทธรูปที่โต๊ะหมู่บูชาอีกครั้ง หนึ่ง ส่วนผู้เข้าร่วมประชุมยืนขึ้นด้วยอาการสำรวม แล้วจึงไหว้ลาพระรัตนตรัยเป็นอันเสร็จพิธี แต่ ในกรณีที่ยังมีกิจกรรมต่อเนื่อง เช่น ประธาน ทักทายสังสรรค์กับผู้เข้าร่วมประชุม หรือดื่มน้ำ ชา และประธานอยู่ร่วมกิจกรรมด้วย เมื่อประธานจะ กลับ ไม่จำเป็นต้องกราบพระรัตนตรัย
6.4 การแสดงความเคารพของผู้ที่แต่งเครื่องแบบ ให้ปฏิบัติตามระเบียบของสถาบันนั้น
7. การรับความเคารพ เมื่อผู้น้อยมาทำความเคารพ ควรรับ ความเคารพด้วยการประนมมือหรือค้อมศีรษะรับตาม ควรแก่กรณี

การแสดงความเคารพมีหลาย ลักษณะ เช่น การประนมมือ การไหว้ การกราบ การคำนับ การถวายความเคารพ การถวายบังคม เป็นต้น การที่จะ แสดงความเคารพในลักษณะใดนั้น ต้องพิจารณาผู้ที่ จะรับความเคารพด้วยว่าอยู่ในฐานะเช่นใด หรือในโอกาสใด แล้วจึงแสดงความเคารพให้ถูก ต้องและเหมาะสมการแสดงความเคารพแบ่งได้ดัง นี้คือ

1. การประนมมือ (อัญชลี) ประนมมือให้นิ้วมือแนบชิดกัน ฝ่ามือราบ ปลายนิ้วตั้งขึ้น แขนแนบตัวระดับอก ไม่กาง ศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือ นี้ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟัง พระธรรมเทศนา และขณะพูดกับพระสงฆ์ซึ่งเป็น ที่เคารพนับถือ เป็นต้น
2. ไหว้ (วันทนา ) การไหว้เป็นการแสดงความเคารพโดยการประนม มือให้นิ้วชิดกันยกขึ้นไหว้ การไหว้แบบ ไทยแบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามระดับของบุคคล ดัง นี้
ระดับที่ 1 การไหว้พระ ได้แก่ การ ไหว้พระรัตนตรัยรวมทั้งปูชนียวัตถุและปูชนีย สถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่ สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือให้ปลาย นิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก
ชาย ยืน แล้วค้อมตัวลงให้ต่ำพร้อมกับยกมือขึ้น ไหว้
หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงให้ต่ำโดย ถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัด พร้อมยกมือ ขึ้นไหว้
ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระ คุณและผู้มีอาวุโส ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ อย่างสูง โดยประนมมือให้ปลายนิ้วชี้จรดระหว่าง คิ้ว
ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับ การไหว้พระ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งพร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้
ระดับที่ 3 การไหว้บุคคลทั่ว ไปที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโส รวมทั้ง ผู้ที่เสมอกันโดยประนมมือยกขึ้นให้ปลาย นิ้วจรดปลายจมูก
ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมกับ ยกมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ โดยถอย เท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย พร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้
ในการไหว้ผู้เสมอกันทั้งชาย และหญิงให้ยกมือขึ้นไหว้พร้อมกัน หรือใน เวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ทำพร้อมกันเป็น หมู่คณะ ควรจะนัดหมายให้ทำอย่างเดียวกัน
การไหว้ตามมารยาทไทยเช่นนี้ ปฏิบัติให้เรียบ ร้อยนุ่มนวลด้วยความสำรวมจึงจะดูงาม
3. การกราบ (อภิวาท) เป็นการแสดงความเคารพด้วย วิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผากแล้วน้อมศีรษะ ลงจรดพื้นหรือจรดมือ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วน้อมศีรษะลงบนมือนั้น เช่น กราบลงบน ตักก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ ถ้าหมอบแล้วน้อม ศีรษะจรดมือที่ประนมถึงพื้นเรียกว่า หมอบกราบ การกราบมี 2 ลักษณะ คือ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ และการกราบผู้ใหญ่
3.1 การกราบแบญ จางคประดิษฐ์ ใช้กราบพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง การ ที่ให้อวัยวะทั้ง 5 คือ เข่าทั้ง 2 มือทั้ง 2 และหน้าผากจรดพื้น การกราบจะมี 3 จังหวะ และจะต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมกราบ
ท่าเตรียมกราบ
ชาย นั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่ง บนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้ง สองข้าง (ท่าเทพบุตร)
หญิง นั่งคุกเข่าปลาย เท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบน หน้าขาทั้งสองข้าง (ท่าเทพธิดา)
จังหวะ ที่ 1 ( อัญชลี) ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วชิดกันตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก
จังหวะที่ 2 (วันนา) ยกมือขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะ โดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้า ผาก
จังหวะที่ 3 (อภิวาท) ทอดมือลง กราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน มือคว่ำห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรด พื้นระหว่างมือได้
ชาย ให้กางศอกทั้งสอง ข้างลง ต่อจากเข่าขนานไปกับพื้น หลังไม่ โก่ง
หญิง ให้ศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็ก น้อย
ทำสามจังหวะให้ครบสามครั้ง แล้วยก มือขึ้นจบโดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง การกราบไม่ควรให้ช้าหรือ เร็วเกินไป
3.2 การกราบผู้ใหญ่ ใช้ กราบผู้ใหญ่ที่มีอาวุโส รวมทั้งผู้มีพระ คุณได้แก่ พ่อ แม่ ครูอาจารย์ และผู้ที่เรา เคารพ กราบเพียงครั้งเดียว โดยที่ผู้กราบทั้งชาย และหญิงนั่งพับเพียบ ทอดมือทั้งสองข้างลง พร้อมกัน ให้แขนทั้งสองคร่อมเข่าที่อยู่ด้าน ล่างเพียงเข่าเดียว มือประนม ค้อมตัวลงให้หน้า ผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม ในขณะกราบ ไม่ควรกระดกนิ้วหัวแม่มือขึ้นรับหน้าผาก
4. การคำนับ ให้ยืนตรง มือปล่อยไว้ข้างลำ ตัวค้อมศีรษะเล็กน้อย การคำนับนี้ส่วนมากเป็น การปฏิบัติของชาย แต่ให้ใช้ปฏิบัติได้ทั้งชาย และหญิงเมื่อแต่งเครื่องแบบและไม่ได้สวมหมวก
5. การแสดงความเคารพพระมหากษัตริย์
5.1 การ ถวายบังคม เป็นราชประเพณีถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ ในงานพระราชพิธีสำคัญ
ก่อนที่จะถวาย บังคมต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมคือ นั่งคุกเข่าปลาย เท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้าเช่นเดียวกันทั้งชาย และหญิง มือทั้งสองวางคว่ำเหนือเข่าทั้งสอง ข้าง ชายนั่งแยกเข่าได้เล็กน้อย หญิงนั่งเข่า ชิด
การถวายบังคมแบ่งออกเป็น 3 จังหวะ ดัง นี้
จังหวะที่ 1 ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก
จังหวะ ที่ 2 ยกมือที่ประนมขึ้น ให้ปลายนิ้วหัว แม่มือจรดหน้าผากเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย
จังหวะที่ 3 ลดมือกลับลงตามเดิมมาอยู่ ในจังหวะที่ 1
ทำให้ครบ 3 ครั้ง โดย จบลงอย่างจังหวะที่ 1 แล้วจึงลดมือลง วางคว่ำเหนือเข่าทั้งสองข้าง
การถวายบังคม ดังกล่าวนี้ หญิงมีโอกาสใช้น้อย จะใช้ใน กรณีที่มีชายกับหญิงไปถวายบังคมร่วมกัน ถ้าหญิงล้วนให้ใช้วิธีหมอบกราบ
5.2 การหมอบกราบ ใช้แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ลง มาถึงพระบรมวงศ์ ในโอกาสที่เข้าเฝ้า โดย นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าแล้วจึงหมอบลงให้ ศอกทั้งสองข้างถึงพื้นคร่อมเข่าอยู่ด้านล่าง เพียงเข่าเดียว มือประสาน เมื่อจะกราบให้ประนมมือ ก้มศีรษะลง หน้าผากแตะส่วนบนของมือที่ ประนม เมื่อกราบแล้วนั่งในท่าหมอบเฝ้าอีกครั้ง หนึ่ง แล้วทรงตัวนั่งในท่าพับเพียบตามเดิม
3. การถวายความเคารพแบบสากล ใช้กับ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์
ชาย ใช้วิธี การถวายคำนับ โดยค้อมตัวต่ำพอสมควร
หญิง ใช้วิธีการถวายความเคารพแบบย่อเข่า ( ถอนสายบัว) มี 2 แบบ คือ
แบบสากลนิยม ยืนตรง หันหน้าไปทางพระองค์ ท่าน วาดเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลังเล็ก น้อยตามถนัด พร้อมกับย่อตัวลง ลำตัวตรง หน้าตรง สายตาทอดลง ปล่อยแขนทั้งสองข้างแล้ว ยืนตรง
แบบพระราชนิยม ยืนตรง หัน หน้าไปทางพระองค์ท่าน วาดเท้าข้างใดข้าง หนึ่งไปข้างหลังเล็กน้อยตามถนัด พร้อมกับย่อ ตัวลง ขณะที่วาดเท้า ให้ยกมือทั้งสอง ข้างขึ้นวางประสานกันบนขาหน้าเหนือเข่า ค้อม ตัวเล็กน้อยทอดสายตาลง เสร็จแล้วยืนขึ้นใน ลักษณะเดิม
การแสดงความเคารพมีหลาย ลักษณะ เช่น การประนมมือ การไหว้ การกราบ การคำนับ การถวายความเคารพ การถวายบังคม เป็นต้น การที่จะ แสดงความเคารพในลักษณะใดนั้น ต้องพิจารณาผู้ที่ จะรับความเคารพด้วยว่าอยู่ในฐานะเช่นใด หรือในโอกาสใด แล้วจึงแสดงความเคารพให้ถูก ต้องและเหมาะสมการแสดงความเคารพแบ่งได้ดัง นี้คือ

1. การประนมมือ (อัญชลี) ประนมมือให้นิ้วมือแนบชิดกัน ฝ่ามือราบ ปลายนิ้วตั้งขึ้น แขนแนบตัวระดับอก ไม่กาง ศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน การประนมมือ นี้ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟัง พระธรรมเทศนา และขณะพูดกับพระสงฆ์ซึ่งเป็น ที่เคารพนับถือ เป็นต้น
2. ไหว้ (วันทนา ) การไหว้เป็นการแสดงความเคารพโดยการประนม มือให้นิ้วชิดกันยกขึ้นไหว้ การไหว้แบบ ไทยแบ่งออกเป็น 3 แบบ ตามระดับของบุคคล ดัง นี้
ระดับที่ 1 การไหว้พระ ได้แก่ การ ไหว้พระรัตนตรัยรวมทั้งปูชนียวัตถุและปูชนีย สถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่ สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ โดยประนมมือให้ปลาย นิ้วชี้จรดส่วนบนของหน้าผาก
ชาย ยืน แล้วค้อมตัวลงให้ต่ำพร้อมกับยกมือขึ้น ไหว้
หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงให้ต่ำโดย ถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งตามถนัด พร้อมยกมือ ขึ้นไหว้
ระดับที่ 2 การไหว้ผู้มีพระ คุณและผู้มีอาวุโส ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์ และผู้ที่เราเคารพนับถือ อย่างสูง โดยประนมมือให้ปลายนิ้วชี้จรดระหว่าง คิ้ว
ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลงน้อยกว่าระดับ การไหว้พระ พร้อมกับยกมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลงน้อยกว่าระดับการไหว้พระ โดยถอยเท้าข้างใดข้างหนึ่งพร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้
ระดับที่ 3 การไหว้บุคคลทั่ว ไปที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโส รวมทั้ง ผู้ที่เสมอกันโดยประนมมือยกขึ้นให้ปลาย นิ้วจรดปลายจมูก
ชาย ยืนแล้วค้อมตัวลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ พร้อมกับ ยกมือขึ้นไหว้
หญิง ยืนแล้วย่อเข่าลง น้อยกว่าระดับการไหว้ผู้มีพระคุณ โดยถอย เท้าข้างใดข้างหนึ่งเล็กน้อย พร้อมกับยกมือ ขึ้นไหว้
ในการไหว้ผู้เสมอกันทั้งชาย และหญิงให้ยกมือขึ้นไหว้พร้อมกัน หรือใน เวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ทำพร้อมกันเป็น หมู่คณะ ควรจะนัดหมายให้ทำอย่างเดียวกัน
การไหว้ตามมารยาทไทยเช่นนี้ ปฏิบัติให้เรียบ ร้อยนุ่มนวลด้วยความสำรวมจึงจะดูงาม
3. การกราบ (อภิวาท) เป็นการแสดงความเคารพด้วย วิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผากแล้วน้อมศีรษะ ลงจรดพื้นหรือจรดมือ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วน้อมศีรษะลงบนมือนั้น เช่น กราบลงบน ตักก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ ถ้าหมอบแล้วน้อม ศีรษะจรดมือที่ประนมถึงพื้นเรียกว่า หมอบกราบ การกราบมี 2 ลักษณะ คือ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ และการกราบผู้ใหญ่
3.1 การกราบแบญ จางคประดิษฐ์ ใช้กราบพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ หมายถึง การ ที่ให้อวัยวะทั้ง 5 คือ เข่าทั้ง 2 มือทั้ง 2 และหน้าผากจรดพื้น การกราบจะมี 3 จังหวะ และจะต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมกราบ
ท่าเตรียมกราบ
ชาย นั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง นั่ง บนส้นเท้า มือทั้งสองวางบนหน้าขาทั้ง สองข้าง (ท่าเทพบุตร)
หญิง นั่งคุกเข่าปลาย เท้าราบ นั่งบนส้นเท้า มือทั้งสองวางบน หน้าขาทั้งสองข้าง (ท่าเทพธิดา)
จังหวะ ที่ 1 ( อัญชลี) ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วชิดกันตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก
จังหวะที่ 2 (วันนา) ยกมือขึ้น พร้อมกับก้มศีรษะ โดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้า ผาก
จังหวะที่ 3 (อภิวาท) ทอดมือลง กราบ ให้มือและแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกัน มือคว่ำห่างกันเล็กน้อยพอให้หน้าผากจรด พื้นระหว่างมือได้
ชาย ให้กางศอกทั้งสอง ข้างลง ต่อจากเข่าขนานไปกับพื้น หลังไม่ โก่ง
หญิง ให้ศอกทั้งสองข้างคร่อมเข่าเล็ก น้อย
ทำสามจังหวะให้ครบสามครั้ง แล้วยก มือขึ้นจบโดยให้ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก แล้วปล่อยมือลง การกราบไม่ควรให้ช้าหรือ เร็วเกินไป
3.2 การกราบผู้ใหญ่ ใช้ กราบผู้ใหญ่ที่มีอาวุโส รวมทั้งผู้มีพระ คุณได้แก่ พ่อ แม่ ครูอาจารย์ และผู้ที่เรา เคารพ กราบเพียงครั้งเดียว โดยที่ผู้กราบทั้งชาย และหญิงนั่งพับเพียบ ทอดมือทั้งสองข้างลง พร้อมกัน ให้แขนทั้งสองคร่อมเข่าที่อยู่ด้าน ล่างเพียงเข่าเดียว มือประนม ค้อมตัวลงให้หน้า ผากแตะส่วนบนของมือที่ประนม ในขณะกราบ ไม่ควรกระดกนิ้วหัวแม่มือขึ้นรับหน้าผาก
4. การคำนับ ให้ยืนตรง มือปล่อยไว้ข้างลำ ตัวค้อมศีรษะเล็กน้อย การคำนับนี้ส่วนมากเป็น การปฏิบัติของชาย แต่ให้ใช้ปฏิบัติได้ทั้งชาย และหญิงเมื่อแต่งเครื่องแบบและไม่ได้สวมหมวก
5. การแสดงความเคารพพระมหากษัตริย์
5.1 การ ถวายบังคม เป็นราชประเพณีถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ ในงานพระราชพิธีสำคัญ
ก่อนที่จะถวาย บังคมต้องนั่งอยู่ในท่าเตรียมคือ นั่งคุกเข่าปลาย เท้าตั้ง นั่งบนส้นเท้าเช่นเดียวกันทั้งชาย และหญิง มือทั้งสองวางคว่ำเหนือเข่าทั้งสอง ข้าง ชายนั่งแยกเข่าได้เล็กน้อย หญิงนั่งเข่า ชิด
การถวายบังคมแบ่งออกเป็น 3 จังหวะ ดัง นี้
จังหวะที่ 1 ยกมือขึ้นประนมระหว่างอก ปลายนิ้วตั้งขึ้นแนบตัวไม่กางศอก
จังหวะ ที่ 2 ยกมือที่ประนมขึ้น ให้ปลายนิ้วหัว แม่มือจรดหน้าผากเงยหน้าขึ้นเล็กน้อย
จังหวะที่ 3 ลดมือกลับลงตามเดิมมาอยู่ ในจังหวะที่ 1
ทำให้ครบ 3 ครั้ง โดย จบลงอย่างจังหวะที่ 1 แล้วจึงลดมือลง วางคว่ำเหนือเข่าทั้งสองข้าง
การถวายบังคม ดังกล่าวนี้ หญิงมีโอกาสใช้น้อย จะใช้ใน กรณีที่มีชายกับหญิงไปถวายบังคมร่วมกัน ถ้าหญิงล้วนให้ใช้วิธีหมอบกราบ
5.2 การหมอบกราบ ใช้แสดงความเคารพพระมหากษัตริย์ลง มาถึงพระบรมวงศ์ ในโอกาสที่เข้าเฝ้า โดย นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าแล้วจึงหมอบลงให้ ศอกทั้งสองข้างถึงพื้นคร่อมเข่าอยู่ด้านล่าง เพียงเข่าเดียว มือประสาน เมื่อจะกราบให้ประนมมือ ก้มศีรษะลง หน้าผากแตะส่วนบนของมือที่ ประนม เมื่อกราบแล้วนั่งในท่าหมอบเฝ้าอีกครั้ง หนึ่ง แล้วทรงตัวนั่งในท่าพับเพียบตามเดิม
3. การถวายความเคารพแบบสากล ใช้กับ พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์
ชาย ใช้วิธี การถวายคำนับ โดยค้อมตัวต่ำพอสมควร
หญิง ใช้วิธีการถวายความเคารพแบบย่อเข่า ( ถอนสายบัว) มี 2 แบบ คือ
แบบสากลนิยม ยืนตรง หันหน้าไปทางพระองค์ ท่าน วาดเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลังเล็ก น้อยตามถนัด พร้อมกับย่อตัวลง ลำตัวตรง หน้าตรง สายตาทอดลง ปล่อยแขนทั้งสองข้างแล้ว ยืนตรง
แบบพระราชนิยม ยืนตรง หัน หน้าไปทางพระองค์ท่าน วาดเท้าข้างใดข้าง หนึ่งไปข้างหลังเล็กน้อยตามถนัด พร้อมกับย่อ ตัวลง ขณะที่วาดเท้า ให้ยกมือทั้งสอง ข้างขึ้นวางประสานกันบนขาหน้าเหนือเข่า ค้อม ตัวเล็กน้อยทอดสายตาลง เสร็จแล้วยืนขึ้นใน ลักษณะเดิม
 

มารยาทไทย2

การยืนถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ และ พระบรมวงศ์
๓.๑ การยืนรับเสด็จฯ นอกพระที่นั่ง อาคาร หรือแนวทางลาดพระบาทที่รับเสด็จฯถ้าเป็นข้าราชการจัดให้ยืนเรียงแถวตามลำดับยศ ตำแหน่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งกำหนดการเฝ้าฯ เป็นงาน ๆ เช่น แต่งเครื่องแบบเต็มยศ ครื่งยศปกติ โดยปฏิบัติตามระเบียบของเจ้าหน้าที่ หรือผู้รับผิดชอบแนะนำ

 
ถ้าแต่งเครื่องแบบสวมหมวกทั้งชายหญิงให้ยืนถวายความเคารพด้วยการทำวันทยาหัตถ์ หากไม่สวมหมวกข้าราชการชาย ทหาร ตำรวจ พลเรือนและหญิงที่แต่งเครื่องแบบทหาร ตำรวจ ให้ถวายคำนับโดยก้มศีรษะลงช้า ๆ ต่ำพอสมควรกระทำครั้งเดียวแล้วยืนตรง ถ้าเป็นพยาบาล ที่แม้จะสวมหมวกให้ย่อเข่าที่เรียกกันทั่วไปว่า “ถอนสายบัว”ตามแบบข้าราชการฝ่ายในสำนักพระราชวัง


บุคคลทั่วไปที่มีโอกาสได้เฝ้าฯ แต่มิได้แต่งเครื่องแบบ ชายให้ถวายคำนับ หญิงถวายความเคารพแบบย่อเข่าที่เรียกว่าถอนสายบัว ในกรณีต่างจังหวัด ชนบทพสกนิกร ประชาชนจะยกมือประนม ก้มศีรษะไหว้แบบไทยก็ได้ทั้งชาย หญิง ถ้าสวมหมวกที่มิใช่เครื่องแบบที่ทางราชการกำหนด ให้ถอดหมวก แล้วถวายความเคารพเหมือนผู้ที่ไม่ได้แต่งเครื่องแบบ ยกเว้นผู้ที่โพกผ้าหรือสวมหมวกตามลัทธิศาสนาของตน
๓.๒ การยืนเฝ้าฯ รับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถฯ สมเด็จพระบรมวงศ์
ให้ยืนถวายความเคารพตามข้อ ๓.๑ แล้วยืนตรงจนกว่าจะเสด็จฯ เลยไป เมื่อประทับพระราชอาสน์ หรือพระเก้าอี้เรียบร้อยแล้ว ถวายความเคารพอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงเคลื่อนที่ได้และลงนั่งเก้าอี้ตามลำดับตำแหน่ง
ในกรณีที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจงานพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น เสด็จฯ ไปทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย หรือพระราชทานพระบรมราโชวาท ให้ยืนตรงจนกว่าทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนั้นเสร็จ ประทับพระราชอาสน์ หรือพระเก้าอี้แล้ว จึงถวายความเคารพแล้วนั่งลง
ผู้ที่นั่งเฝ้าฯ อยู่ในงานพิธีการต่างๆ เมื่อมีกิจจำเป็นจะต้องไปจากที่นั้น ให้ยืนถวายความเคารพก่อนแล้วจึงออกไป เมื่อกลับมาต้องถวายความเคารพอีกครั้งแล้วจึงนั่งลง
ในกรณีการเฝ้า ฯ ที่ไม่ได้จัดให้นั่งเก้าอี้เฝ้าฯ เช่น งานสโมสรสันนิบาต งานเสด็จออกมหาสมาคม ผู้เฝ้า ฯ จะต้องยืนตลอดเวลาจนกว่าจะเสด็จ ฯ กลับ
๓.๓ การยืนเคารพในพิธีที่มีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงเพื่อถวายความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถฯ สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร หรือผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้แทนพระองค์
การยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในกรณีที่มิได้อยู่ในที่เฝ้าฯ เช่น เมื่อเพลงสรรเสริญพระบารมีบรรเลงเป็นการเปิดหรือปิดงาน หรือเมื่อมหรสพเริ่มหรือเลิก ควรทำความเคารพด้วยการยืนตรง เมื่อเพลงจบให้คำนับโดยก้มศีรษะ ทั้งชายและ หญิง
๑. การยืนเคารพธงชาติ เพลงชาติ หรือธงชัยเฉลิมพลในที่สาธารณะ ให้ยืนตรงแสดงคารวะโดยหันหน้าไปทางธงชาติ เมื่อเพลงจบให้ค้อมศีรษะคำนับ และสำหรับบุคคลทั่วไปเมื่อจะผ่านธงชัยเฉลิมพลให้หยุด และยืนแสดงคารวะ หรือเมื่อมีการเชิญธงชัยเฉลิมพลผ่านก็ให้ยืนตรงแสดงความเคารพเช่นเดียวกัน
๒. การยืนถวายความเคารพสมเด็จพระสังฆราช
๒.๑ เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาถึงมณฑลพระราชพิธีก่อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่ ณ ที่นั้น ถวายความเคารพโดยการยืนประนมมือไหว้ เมื่อเสด็จผ่านแล้วจึงนั่งลง
๒.๒ ในกรณีที่สมเด็จพระสังฆราชเสด็จมาถึงภายหลัง ให้ถวายความเคารพโดยวิธีนั่งประนมมือไหว้


มารยาทไทย

การยืนเคารพในพิธีที่มีการบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ และเพลงมหาชัย
เพลงมหาฤกษ์ ใช้บรรเลงในการเปิดงานที่เป็นพิธีใหญ่ เช่น พิธีเปิดสถานทำการของรัฐบาล พิธีเปิดทางคมนาคมที่สำคัญๆ และงานที่เป็นมงคลทั่วไป
ใช้บรรเลงต้อนรับประธานของงานผู้มีเกียรติสูง นับตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชกุมาร พระบรมวงศานุวงศ์ นายกรัฐมนตรี หรือเมื่อผู้เป็นประธานของงานกล่าวคำปราศัยจบก็จะบรรเลงเพลงมหาชัยเป็นพิเศษหรือบรรเลงในงานรับรองบุคคลสำคัญ งานสโมสรสันนิบาต เป็นต้น
เมื่อได้ยินเพลงมหาฤกษ์ หรือเพลงมหาชัย บรรเลง ให้ยืนตรงจนกว่าจะจบเพลง ในกรณีที่เป็นพิธีของทางราชการ ผู้ที่เป็นทหารหรือข้าราชการพลเรือน ที่อยู่ในเครื่องแบบให้ปฏิบัติตามระเบียบของราชการทหาร หรือราชการพลเรือนแล้วแต่กรณี
๔.๒ การยืนเคารพในพิธีให้เกียรติแก่ผู้ล่วงลับ ให้ยืนแสดงความเคารพเมื่อได้ยินเสียงแตรเดี่ยว เป่าเพลงนอน หรือเมื่อประธานวางเครื่องขมาหรือจุดเพลิงเผาศพ ไม่ว่าจะมีเพลงประโคมหรือไม่ก็ตาม และเมื่อการเชิญศพผ่านให้ยืนตรงแสดงความเคารพด้วย
๔.๓ การยืนเมื่อประธานในพิธีเดินผ่าน ทุกคนในที่นั้นลุกขึ้นยืนตรงหันหน้าไปทางประธานที่กำลังเดินผ่าน ปล่อยมือไว้ข้างตัว
๔.๔การยืนฟังโอวาท ให้ยืนตรง ชิดเท้า ปล่อยมือไว้ข้างตัว หันหน้าไปทางผู้ให้โอวาท ยกเว้นในกรณีที่ถือประกาศนียบัตร หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฯลฯ อยู่ ถ้าถือมือเดียวให้ถือด้วยมือขวาแนบไว้กับอกหรือระดับตั้งฉากกับลำตัว แล้วแต่ทางพิธีจะกำหนด ถ้าถือสองมือให้ถือระดับตั้งฉากกับลำตัว
๔.๕การยืนกล่าวคำปฏิญาณ โอกาสที่กล่าวคำปฏิญาณ เช่น กล่าวคำปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพล ถวายสัตย์ปฏิญาณ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ยืนตรง ชิดเท้า หันหน้าไปทางธงหรือพระองค์ท่าน กล่าวคำปฏิญาณของครู นักเรียน และกลุ่มบุคคลต่างๆ อาทิ ไทยอาสาป้องกันชาติ ลูกเสือ เนตรนารี ให้ผู้ที่กล่าวคำปฏิญาณปฏิบัติตามพิธีที่กำหนดไว้ของสถาบันนั้นๆ